โครงงานSTEMเรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพ

โครงงานสะเต็มศึกษาหน่วยบูรณาการวิถีพอเพียงเรื่อง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย

1.ด.ช.ธัญลักษณ์   ยีหวังเจริญ  ม.2/11  เลขที่5

2.ด.ช.นิธิพัฒน์   นกเพชร  ม.2/11  เลขที่7 

3.ด.ช.พหล   เกื้อสกุล   ม.2/11  เลขที่  9

4.ด.ช.ภูรินทร์   ชัชศิริกุลชัย   ม.2/11  เลขที่10

5.ด.ช.สฤษดิ์   ฤทธีอิทธิพัทธ์   ม.2/11  เลขที่12

ครูประจำวิชา

   

 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                 : ครู วิไลกร      พงศ์ดี

 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                 : ครู สุฐิยา        เพชรวงษ์

 กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย                                                           : ครู กัลยาณี     สุดทองคง

 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม             : ครู พูนสุข      เพ็งสถิตย์

 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา                                 : ครู จราภรณ์   เกื้อเดช

 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                                                           : ครู วุฒิชัย       อินทรัตน์

 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                       : ครู ศุภร          วงศ์สุวรรณ

 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ                                         : ครู อาภรณ์     พงศ์ประยูร

 กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว                                         : ครู วิลาวัลย์    เผือกสุวรรณ

โรงเรียน วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

รายงานนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2/11

บทคัดย่อ
          เนื่องจากในบริเวณรอบๆบ้านของบ้านของเรามีใบไม้และมูลสัตว์เป็นจำนวนมากซึ่งเกิดจากที่ในบริเวณบ้านมีต้นไม้เป็นจำนวนมากและมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดนำใบไม้และมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาทำปุ๋ยชีวภาพซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งช่วยลดปริมาณใบไม้และมูลสัตว์และยังนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรในการเพาะปลูกต้นไม้ การปลูกผักและการทำเกษตรกรรมอื่นๆทำให้เราลดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาการเผาไหม้ของใบไม้ ซึ่งเป็นวิธีที่เรานิยมใช้กันซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ดังนั้นหลังจากที่ท่านศึกษาโครงงานนี้แล้วท่านอาจนำความคิดนี้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาปุ๋ยชีวภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วิธีการดำเนินงาน
เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร
รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ
โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1
ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้
ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน
สรุปผลการดำเนินงาน
            1 .ได้ปุ๋ยที่ทำจากธรรมชาติ
            2 .ใช้งานได้จริง

กิตติกรรมประกาศ

            โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อทดลองการประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักชีวภาพในการปลูกพืช โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านสามสวน  และได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองของ ด.ช.พหล เกื้อสกุลและคนในหมู่บ้าน   ที่ได้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงานและได้รับความอนุเคราะห์จากชาวบ้านที่ได้ให้ข้อเสนอแนะและนำเอกสารตำราต่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคณะผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้น และที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง




บทที่ 1บทนำ

 1. แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและประเทศไทยจะอาศัยการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรเป็นสินค้าที่ส่งออกที่สำคัญนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละมหาศาลและผลักดันประเทศไปเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกแต่ปัจจุบันการเกษตรได้รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบตามธรรมชาติ 

การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้นแต่กำลังความสามารถในการผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรของประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องนำปุ๋ยเคมีเข้าจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้า  การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากแทนธาตุอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุและการใช้สารเคมีฆ่าแมลงแทนสมุนไพร  เพื่อการกำจัดศัตรูพืช  ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น

1.ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดจากสารปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำและดินทำให้ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตเสียไป

2.ปัญหาต่อความปลอดภัยสุขภาพของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตของเกษตรกรต่ำลงเนื่องจากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากๆ ตลอดจนปัญหาการตกค้างของสารเคมีผลิตผลทางการเกษตรส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวความคิดที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่นแกลบ จุรินทรีย์  EM และมูลสัตว์นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ดังนั้นการเอา จุรินทรีย์ EM   มาช่วยในการเร่ง   ปฏิกิริยาการย่อยสลายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เหลือใช้ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตการเกษตร ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศที่มีราคาสูง   ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน

2.1.เพื่อศึกษาวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพและค้นคว้ากับการวัดค่า PH   ของดิน

2.2 เพื่อศึกษาทดสอบประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพ
3. ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน       
- ใช้จำนวนเงินให้ถูกที่สุด           
 - ใช้วัสดุจากธรรมชาติ
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 มีประสิทธิสามารนำมาปลูกพีชได้จริงได้จริง
4.2 ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
4.3 สามารถทำใช้เองที่บ้าน

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไรE.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา  ฯลฯ จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไปด้านการเกษตร

ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ
ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดีช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เ
ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวันช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ

การเก็บรักษาจุลินทรีย์          สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 องศาเซลเซียส ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกต            หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม




 

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

1. ดิน

2. แกลบ 

3. ขี้วัว

4. น้ำหมัก

5. จอบ

6. บุ้งกี๋

7. รถขนดิน 

8. ถังสำหรับหมัก

 3.2 ขั้นตอนการสร้างชิ้นงานตามแบบ
1.เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
2.ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย  แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดยเริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร
3.รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสด
4.โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1
5.ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้
6.ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
7.สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน
3.3 ทดสอบและปรับปรุงชิ้นงานให้สามารถทำงานได้สามรถนำไปใช้ได้จริง            
หลังจากทดสอบสามารถใช้งานได้จริง

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

4.1 ผลการดำเนินงานชิ้นงานออกมาสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
4.2การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระในระดับ ม.2  เรื่อง “วิถีพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เรื่อง “พลังงานพอเพียง”แนวทางการบูรณาการ การประยุกต์วัสดุในธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง “คณิตกับชีวิตประจำวัน”แนวทางการบูรณาการ การคำนวณปริมาณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย       เรื่อง  “ภาษาสร้างสรรค์”แนวทางการบูรณาการ การเรียบเรียงรูปเล่มโครงงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  เรื่อง  “ธรรมะสร้างงาน”แนวทางการบูรณาการ ความรับผิดชอบช่วยกันของเพื่อน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง  “อยู่ดีมีสุข”แนวทางการบูรณาการ ทำให้พืชเติบโต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง  “ศิลป์สร้างสรรค์”
แนวทางการบูรณาการ การออกแบบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง  “ทักษะสร้างอาชีพ”แนวทางการบูรณาการ การประยุกต์สิ่งในธรรมชาติ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ        เรื่อง  “English Around us”
แนวทางการบูรณาการ ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ในชีวิตกลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว        เรื่อง  “แนะแนวอาชีพ”
แนวทางการบูรณาการ ฝึกทักษะเพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต




บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

5.1สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน จากการศึกษาและสอบถามเกษตรกรในตารางข้างต้นทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างไร และเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ ยิ่งในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกมากจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ในปริมาณที่มาก ผลการสอบถามเกษตรกรจะไม่พึงสนใจในเรื่องของข้อเสียแต่อย่างใด การส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกษตรกรมองข้ามและปัญหาอื่นๆ เช่น ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง, ปุ๋ยเคมีขาดตลาด เพราะฉะนั้นผลสรุปจึงบอกได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ถึงแม้จะมีปัญหาต่างๆ ตามมาก็ตาม

5.2ปัญหาและอุปสรรค    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ได้ศึกษาและจัดทำโครงงาน เรื่องปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี ขึ้นและทำแบบสอบถามเกษตรกรภายในหมู่บ้านของนักเรียนเอง นั้น ทำให้นักเรียนรู้ถึงปัญหามากมายไม่ว่าจะเรื่องการออกแบบคำถาม การตั้งคำถามกับเกษตรกรหรือผู้ปกครองให้ได้ใจความที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และปัญหาการเสนอข้อคิดเห็นของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันกว่าจะสรุปให้สอดคล้องกับความต้องการได้นั้นต้องใช้ความร่วมมือกับเพื่อนๆในกลุ่มให้มีความสามัคคีกันจึงทำให้ผลงานออกมาตามจุดประสงค์ตามความต้องการได้ประโยชน์ที่ได้รับ1.ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับคือการได้ค้นคว้าสิ่งที่ต้องการหาคำตอบของปัญหาได้ทราบถึงวิถีการทำการเกษตรของเกษตรกรในหมู่บ้านและนำไปใช้ในทางที่เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันมากที่สุด2. แสดงถึงความสามัคคีของสมาชิกในกลุ่มที่ทำงานร่วมกันจนงานสำเร็จลุล่วง3. รู้จักกล้าแสดงออกในการตั้งคำถามกับผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเข้าใจและถูกต้อง
ข้อเสนอแนะการทำแบบสอบถามสามารถนำไปต่อยอดได้ในทุกวิชาและเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาต่างๆในปัจจุบันจึงสมควรที่จะต้องทำให้เป็นแบบสอบถามที่มีความสอดคล้องกับปัญหาในปัจจุบันให้มากที่สุด
5.3ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒน
-ควรจัดการวางแผนเวลาที่จะใช้ในการทำให้ดีเสียก่อน

ภาคผนวก

ส่วนผสมปุ๋ยหมัก
1.      ดิน


2.      แกลบ



3.      มูลสัตว์
4.      น้ำหมัก


วิธีการทำปุ๋ยหมัก
1.      นำดินมาใส่ในภาชนะ


2.      นำแกลบมาใส่ภาชนะ



3.      นำมูลสัตว์มาใส่ในภาชนะ


4.      นำน้ำมาใส่ในภาชนะ


5.      แล้วเติมน้ำหมักลงไปในภาชนะ

6.      คลุกเค้าให้เข้ากัน


วิธีการปลูกพืชจากปุ๋ยหมัก
1.      นำเมล็ดพืชมาแช่น้ำ 1 วัน หรือ 24 ซ.ม

2.      นำส่วนผสมทั้งหมดมาใส่ในกระถางโดยมีใบไม้รองอยู่ที่ก้นกระถาง

3.      โรยเมล็ดพืชลงในกระถาง




4.      นำดินมาใส่อีกครั้ง

5.      รดน้ำลงไป
  

อ้างอิง

สืบค้นเมื่อวันที่ 06/08/2560 จาก
เกษตรไทยแลนด์” , การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ หน้า 70-75 ,2556







ความคิดเห็น

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ทำดีมากเลย สุดยอดๆ🤗

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งานอดิเรก